วันจันทร์ที่ 21 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2554

บันทึกการเข้าเรียนครั้งที่ 15

วันอังคารที่ 1 กุมภาพันธ์ พ.ศ.2554

ในวันนี้อาจารย์ชี้แจงเกี่ยวกับงานกีฬาสีประจำเอก และงานเลี้ยงส่งรุ่นพี่ปี 5 ว่ามีรายละเอียดอะไรบ้าง
และเริ่มการเรียนการสอน สิ่งที่เรียนในวันนี้
-ความรู้ของเด็กจะเพิ่มพูนขึ้น เมื่อเด็กได้รับโอกาสในการทำกิจกรรมที่เกี่ยวกับการอ่านร่วมกับผู้ใหญ่ การอ่านตามลำพัง การอ่านเป็นคู่ การอ่านเป็นกลุ่มย่อย โดยเฉพาะการอ่านจากครู-เด็กเขียนร่วมกัน
ลักษณะสำคัญของภาษาแบบองค์รวม
1. อ่าน-เขียน
- เน้นความเข้าใจเนื้อหามากกว่าการท่องจำหนังสือผ่านการเล่านิทาน/สนทนา
-การคาดคะเนโดยการเดาในขณะอ่าน เขียน และการสะกด โดยไม่จำเป็นต้องอ่าน หรือสะกดถูกต้อง ทั้งหมด
- มีหนังสือ วัสดุพิมพ์ต่างๆให้เด็กเป็นผู้เลือก
- ครูแนะนำและสอนการอ่านในกล่มที่ไม่ใหญ่มากโดยใช้หนังสือเล่มใหญ่
- ให้เด็กแบ่งกลุ่มเล็กและผลัดกันอ่านออกเสียง
- ครูสอนการอ่านอย่างมีความหมาย วิธีการใช้หนังสือหรือการเปิดหนังสืออย่างถูกต้อง
- เปิดโอกาสให้เด็กได้คุย ซักถามประสบการณ์เดิมจากครู ครูประเมินความสามารถในการอ่าน
- ให้เด็กแต่ละคนมีโอกาสเลือกหนังสือไปอ่าน
- ให้เด็กได้อ่าน ขีดเขี่ย วาดภาพ ถ่ายทอดสิ่งที่เรียนจากประสบการณ์เดิม
2.พูด-เขียน
- เด็กจะมีความรู้เกี่ยวกับคำจะเพิ่มพูนในด้านการพูด
- การพูดคุยกับพ่อแม่ เพื่อน ครู ในสถานการณ์ต่างๆต้องมีความสำคัญกับเด็ก
- ส่งเสริมพัฒนาการ คือ การที่ผู้ใหญ่อ่านหนังสือให้ด็กฟัง
- เด็กจะมองตามตัวหนังสือ จะหาความหมายจากภาพ
3.ขั้นของพัฒนาการในการอ่าน
- ขั้นแรก :คำแรกที่เด็กอ่านเป็นคำที่มีความหมายต่อชีวิตเด็ก เช่น คน สัตว์ สิ่งของ กู๊ดแมนเรียกว่า "รากเหง้าของการอ่าน เขียน"
- ขั้นสอง : ผู้เรียนจะผูกพันกับตัวอักษรเพิ่มขึ้นเรียกชื่อได้หรืออ่านได้ถูก และเรียนรู้ที่อยู่(ตำแหน่ง)ของตัวอักษร
- ขั้นสาม : เด็กแยกแยะการใช้ตัวอักษรและจัดระเบียบแบบแผนของตัวอักษร จะเริ่มอ่านหรือเขียนจากซ้ายไปขวา เด็กเริ่มรู้จักรูปร่างและระบบของตัวอักษรมากขึ้น
- ขั้นสุดท้าย : ระบบของตัวอักษร คือ เป้าหมายปลายทางสุดท้ายของการอ่าน
4.การรับรู้และพัฒนาการด้านภาษาเขียนของเด็กก่อนวัยเรียน
- ระยะแรก : เด็กเริ่มแยกแยะความแตกต่างระหว่างสัญลักษณ์ ที่ใช้แทนอักษรและที่ไม่ใช่อักษร เด็กจะใช้สัญลักษณ์ที่เขาคิดขึ้นแทนอักษร โดยแต่ละอักษรมีลักษณะที่แตกต่างกัน
- ระยะที่สอง : การเขียนตัวอักษรที่ต่างกันสำหรับคำพูดแต่ละคำพูด เด็กจะเริ่มแสดงความแตกต่างของข้อความแต่ละข้อความ โดยการเขียนอักษรที่ต่างกัน เด็กเริ่มตระหนักเกี่ยวกับกฎเกณฑ์ที่ใช้ในการเขียนคำและความหมาย
- ระยะที่สาม : เด็กเริ่มใช้ลักษณะการออกเสียง
5.การจัดสภาพแวดล้อม
- จัดให้สอดคล้องกับเนื้อหาสาระแลพกิจกรรมโดยการจัดพื้นที่ภายในห้องเรียนที่สามารถ ตอบสนองความต้องการในการเรียนรู้ของเด็ก
- สร้างประสบการณ์และความพร้อมในการเรียนของแต่ละบุคคล หรือ แต่ละกลุ่มความสนใจ
- การจัดห้องเรียนควรเป็นสถานที่ที่เด็กได้อยู่ในโลกของภาษาตัวหนังสือ สัญลักษณ์ที่มีความหมายต่อเรื่องที่เรียน
6.กระบวนการเรียนรู้แบบธรรมชาติตามวัยวุฒิของเด็ก
ครูต้องมีความเชื่อมั่นและไว้วางใจในตัวเด็กว่าสามารถทำงานต่างๆได้ พฤติกรรมการเรียนรู้ของเด็กจะเกิดขึ้นเอง ถ้าเด็กมีความสนใจ ซึ่งครูทุกคนต้องสังเกตตลอดเวลาให้เกิดเป็นประสบการณ์ตรงของครู

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น