วันอังคารที่ 1 มีนาคม พ.ศ. 2554

รูปภาพและผลงานในการเรียนการสอน



























สะท้อนผลการทำงาน

การจัดกิจกรรม Big Book ให้กับน้องๆที่โรงเรียนสาธิตจันทรเกษม
อุปสรรค
-ทำกิจกรรมเช้าเกินไป เด็กยังไม่มาโรงเรียน
-ความพร้อมในสถานที่ ค่อนข้างจะเสียงดัง
ข้อแก้ไข
-ควรจัดตารางให้อยู่ในการเรียนการสอน
การนำไปใช้ในการเรียนการสอน
-สามารถจัดกิจกรรมได้อหลากหลาย
-สามารถสร้างนิทานร่วมกันระหว่างครูและหนังเรียน
-สามารถนำไปจัดกิจกรรมเสริมประสบการณ์ได้
-เสริมสร้างทักษะทางภาษาให้กับเด็ก
-เสริมสร้างความคิดสร้างสรรค์ให้กับเด็ก
ข้อเสนอแนะ
-ช่วยกระตุ้นให้เรานั้นหาสื่อในการจัดการเรียนการสอนให้มีเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ
-เพื่อเสริมสร้างพัฒนาการของเด็กให้ครบทั้ง 4 ด้าน

บันทึกการเข้าเรียนครั้งที่ 17

วันอังคารที่ 15 กุมภาพันธ์ พ.ศ.2554
ในวันนี้อาจารย์จะปิดคอสร์ในการเรียนการสอน จึงแจ้งงานที่ยังค้างให้นำมาส่ง และสรุปทุกสิ่งที่เรียนมา

บันทึกการเข้าเรียนครั้งที่ 16

วันอังคารที่ 8 กุมภาพันธ์ พ.ศ.2554
ในวันนี้อาจารย์เริ่มการเรียนการสอนด้วยการให้ทำแบบทดสอบ เรื่องมุมที่ดี ลักษณะมุม มุมต่าง
และอาจารย์ก็เริ่มสอนต่อ สิ่งที่เรียนในวันนี้
มุมที่ดีมัลักษณะอย่างไร
-การจัดมุมประสบการณ์ควรเป็นสถานที่ที่เด็กได้อยู่ในโลกของภาษาหนังสือ สัญลักษณ์ ที่มีความหมายต่อเรื่องที่เรียน มีมุมที่เด็กที่เด็กสนใจ โดยสามารถเข้าไปเรียนรู้ได้
ข้อคิดสำหรับการสอนภาษา
1.เริ่มจากตัวเด็กก่อนไม่ว่าจะเป็นความพร้อมหรือความสนใจ
2.สอนแบบธรรมชาติ
3.สอนอย่างมีความหมาย
4.สอนสิ่งเด็กพบเห็น
5.สอนให้เด็กสนุกและอยากเรียน
6.ให้โอกาสเด็กได้ใช้ภาษา
7.ต้องอ่านหนังสือให้เด็กฟัง เพื่อให้เด็กได้รับประสบการณ์และคุ้นเคยกับตัวหนังสือ เด็กจะเกิดการเรียนรู้ ดังนี้
-อ่านจากหน้าไปหลัง ซ้ายไปขวา บนไปล่าง
-ตัวหนังสือแตกต่างจากภาพ
-ตัวหนังสือก่อให้เกิดนิทาน
-ตัวหนังสือทำให้เกิดเสียง
-ข้อความในหนังสือเป็นสิ่งถาวร
-ตัวหนังสือเป็นสิ่งที่สื่อความหมายได้
ควรสอนอ่านก่อนขึ้นประถมปีที่ 1 หรือไม่
ควร.......ถ้าสถานการณ์เป็นไปตามนี้
1.เป็นความต้องการของเด็ก
2.วิธีการเหมาะสำหรับเด็ก
3.เด็ก มีความพร้อมที่จะอ่าน
4.เด็กได้อ่านเพื่อเริมประสบการณ์
5.ครูสร้างความสนใจในหนังสือ
6.ใช้ประสบการณ์ตรงในสนับสนุนการอ่าน
7.มีการพูดถามตอบ แก้ปัญหา
8.ให้ผู้ปกครองมีส่วนร่วม
ไม่ควร........ถ้าสถานณ์เป็นแบบนี้
1.สอนโดยใช้แบบฝึกหัด
2.คาดหวังในตัวเด็ก
3.เน้นความเงียบ
4.จัดกลุ่มและเรียงกลุ่มเด็กตามความสามารถ
5.สอนโดยแยกแต่ละทักษธออกจากกัน
6.สอนโดยถูกบีบบังคับ
7.ครูใช้อำนาจ
8.ครูไม่ได้รับการฝึกฝนให้เข้าใจวิธีการสอน
เทคนิคที่ ไม่ควร นำมาใช้ในการสอนภาษา
1.เน้นความจำ
2.เน้นการฝึก
3.ใช้การทดสอบ
4.การตีตราเด็ก
5.ไม่ยอมรับความผิดพลาด
6.สอนภาษาเฉพาะเวลาที่กำหนด
7.ทำให้การเรียนภาษาเป็นเรื่องที่น่าเบื่อ
เทคนิคที่ ควร นำมาใช้ในการสอนภาษา
1.สอนในสภาพที่เป็นธรรมชาติ
2.สอนสิ่งที่รู้ไปสู่สิ่งที่ไม่รู้
3.บูรณาการเข้ากับสาขาอื่น
4.ใช้ความคิดเห็นและถ้อยคำของเด็ก
5.ยอมรับการคาดเดาของเด็ก
6.ทำให้การเรียนรู้น่าสนใจและสนุกสนาน
**ในวันนี้ไม่มีงานที่อาจารย์มอบหมาย**

วันจันทร์ที่ 21 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2554

บันทึกการเข้าเรียนครั้งที่ 15

วันอังคารที่ 1 กุมภาพันธ์ พ.ศ.2554

ในวันนี้อาจารย์ชี้แจงเกี่ยวกับงานกีฬาสีประจำเอก และงานเลี้ยงส่งรุ่นพี่ปี 5 ว่ามีรายละเอียดอะไรบ้าง
และเริ่มการเรียนการสอน สิ่งที่เรียนในวันนี้
-ความรู้ของเด็กจะเพิ่มพูนขึ้น เมื่อเด็กได้รับโอกาสในการทำกิจกรรมที่เกี่ยวกับการอ่านร่วมกับผู้ใหญ่ การอ่านตามลำพัง การอ่านเป็นคู่ การอ่านเป็นกลุ่มย่อย โดยเฉพาะการอ่านจากครู-เด็กเขียนร่วมกัน
ลักษณะสำคัญของภาษาแบบองค์รวม
1. อ่าน-เขียน
- เน้นความเข้าใจเนื้อหามากกว่าการท่องจำหนังสือผ่านการเล่านิทาน/สนทนา
-การคาดคะเนโดยการเดาในขณะอ่าน เขียน และการสะกด โดยไม่จำเป็นต้องอ่าน หรือสะกดถูกต้อง ทั้งหมด
- มีหนังสือ วัสดุพิมพ์ต่างๆให้เด็กเป็นผู้เลือก
- ครูแนะนำและสอนการอ่านในกล่มที่ไม่ใหญ่มากโดยใช้หนังสือเล่มใหญ่
- ให้เด็กแบ่งกลุ่มเล็กและผลัดกันอ่านออกเสียง
- ครูสอนการอ่านอย่างมีความหมาย วิธีการใช้หนังสือหรือการเปิดหนังสืออย่างถูกต้อง
- เปิดโอกาสให้เด็กได้คุย ซักถามประสบการณ์เดิมจากครู ครูประเมินความสามารถในการอ่าน
- ให้เด็กแต่ละคนมีโอกาสเลือกหนังสือไปอ่าน
- ให้เด็กได้อ่าน ขีดเขี่ย วาดภาพ ถ่ายทอดสิ่งที่เรียนจากประสบการณ์เดิม
2.พูด-เขียน
- เด็กจะมีความรู้เกี่ยวกับคำจะเพิ่มพูนในด้านการพูด
- การพูดคุยกับพ่อแม่ เพื่อน ครู ในสถานการณ์ต่างๆต้องมีความสำคัญกับเด็ก
- ส่งเสริมพัฒนาการ คือ การที่ผู้ใหญ่อ่านหนังสือให้ด็กฟัง
- เด็กจะมองตามตัวหนังสือ จะหาความหมายจากภาพ
3.ขั้นของพัฒนาการในการอ่าน
- ขั้นแรก :คำแรกที่เด็กอ่านเป็นคำที่มีความหมายต่อชีวิตเด็ก เช่น คน สัตว์ สิ่งของ กู๊ดแมนเรียกว่า "รากเหง้าของการอ่าน เขียน"
- ขั้นสอง : ผู้เรียนจะผูกพันกับตัวอักษรเพิ่มขึ้นเรียกชื่อได้หรืออ่านได้ถูก และเรียนรู้ที่อยู่(ตำแหน่ง)ของตัวอักษร
- ขั้นสาม : เด็กแยกแยะการใช้ตัวอักษรและจัดระเบียบแบบแผนของตัวอักษร จะเริ่มอ่านหรือเขียนจากซ้ายไปขวา เด็กเริ่มรู้จักรูปร่างและระบบของตัวอักษรมากขึ้น
- ขั้นสุดท้าย : ระบบของตัวอักษร คือ เป้าหมายปลายทางสุดท้ายของการอ่าน
4.การรับรู้และพัฒนาการด้านภาษาเขียนของเด็กก่อนวัยเรียน
- ระยะแรก : เด็กเริ่มแยกแยะความแตกต่างระหว่างสัญลักษณ์ ที่ใช้แทนอักษรและที่ไม่ใช่อักษร เด็กจะใช้สัญลักษณ์ที่เขาคิดขึ้นแทนอักษร โดยแต่ละอักษรมีลักษณะที่แตกต่างกัน
- ระยะที่สอง : การเขียนตัวอักษรที่ต่างกันสำหรับคำพูดแต่ละคำพูด เด็กจะเริ่มแสดงความแตกต่างของข้อความแต่ละข้อความ โดยการเขียนอักษรที่ต่างกัน เด็กเริ่มตระหนักเกี่ยวกับกฎเกณฑ์ที่ใช้ในการเขียนคำและความหมาย
- ระยะที่สาม : เด็กเริ่มใช้ลักษณะการออกเสียง
5.การจัดสภาพแวดล้อม
- จัดให้สอดคล้องกับเนื้อหาสาระแลพกิจกรรมโดยการจัดพื้นที่ภายในห้องเรียนที่สามารถ ตอบสนองความต้องการในการเรียนรู้ของเด็ก
- สร้างประสบการณ์และความพร้อมในการเรียนของแต่ละบุคคล หรือ แต่ละกลุ่มความสนใจ
- การจัดห้องเรียนควรเป็นสถานที่ที่เด็กได้อยู่ในโลกของภาษาตัวหนังสือ สัญลักษณ์ที่มีความหมายต่อเรื่องที่เรียน
6.กระบวนการเรียนรู้แบบธรรมชาติตามวัยวุฒิของเด็ก
ครูต้องมีความเชื่อมั่นและไว้วางใจในตัวเด็กว่าสามารถทำงานต่างๆได้ พฤติกรรมการเรียนรู้ของเด็กจะเกิดขึ้นเอง ถ้าเด็กมีความสนใจ ซึ่งครูทุกคนต้องสังเกตตลอดเวลาให้เกิดเป็นประสบการณ์ตรงของครู

วันอาทิตย์ที่ 20 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2554

บันทึกการเข้าเรียนครั้งที่ 14

วันอังคารที่ 25 มกราคม พ.ศ. 2554
ในวันนี้อาจารย์ทบทวนเกี่ยวกับภาษาธรรมชาติ และสอนเกี่ยวกับเรื่องกระบวนการเรียนรู้ ได้แก่
1.บรรยากาศการเรียนรู้ ความร่วมมือกันระหว่างครูและนักเรียน คือ คิดด้วยกันว่าจะอะไร ทำเมื่อไร ทำอย่างไร ต้องใช้อุปกรณ์อะไรบ้าง ใครจะทำหน้าที่ส่วนใด
2.การฟังและการพูดของเด็ก การพูดเป็นประโยคยาวๆ จะทำให้เด็กมีพัฒนาการด้านภาษาอย่างรวดเร็ว
3.การอ่านและการเขียน การให้เด็กเรียนรู้ที่จะเข้าใจประเด็นในเรื่องที่อ่าน สิ่งที่ประกอบขึ้นทั้งหมด คือ องค์ความรู้ ที่เป็นเนื้อหานำเสนอผ่านไวยกรณ์ของภาษา
**ในสัปดาห์นี้อาจารย์ไม่ได้มอบหมายงาน**

บันทึกการเข้าเรียนครั้งที่ 13

วันอังคารที่ 18 มกราคม พ.ศ.2554
ในวันนี้อาจารย์แบบการทดสอบ โดยมีกิจกรรม ดังนี้
1.คำคล้องจอง
2.หนูรู้สึกอย่างไร
3.ครอบครัวของฉัน
4.ฟังและปฎิบัติโดยมีข้อตกลง
5.คำตรงข้าม
6.กระซิบ
7.วาดภาพมาเชื่อมโยงเป็นเรื่องราว
8.เล่าไปวาดไป
อาจารย์สรุปการจัดประสบการณ์ด้านการฝึกพูด
-การเลียนเสียงที่อยู่ในสิ่งแวดล้อม เช่น เสียงสัตว์
-หัดว่าบทประพันธ์ จะช่วยฝึกการออกเสียง ทำให้รู้คำศัพย์มากขึ้น

เพลงที่ใช้เป็นสื่อ ได้แก่

1.เพลง...สวัสดี

2.เพลง...ชื่อของเธอ

ชื่อของเธอฉันไม่รู้จัก ครูถามทักนักเรียนเข้าใหม่

ชื่อของเธอฉันจำไม่ได้ ชื่ออะไรขอให้บอกมา

3.เพลง...แปลงฟัน

แปลง ซิ แปลง แปลง ฟัน

ฟัน หนู สวย สะอาด ดี

แปลง ขึ้น แปลง ลง ทุก ซี่

สะอาด ดี เมื่อ หนู แปลง ฟัน

**สัปดาห์นี้อาจารย์ไม่ได้มอบหมายงาน**