วันจันทร์ที่ 21 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2554

บันทึกการเข้าเรียนครั้งที่ 15

วันอังคารที่ 1 กุมภาพันธ์ พ.ศ.2554

ในวันนี้อาจารย์ชี้แจงเกี่ยวกับงานกีฬาสีประจำเอก และงานเลี้ยงส่งรุ่นพี่ปี 5 ว่ามีรายละเอียดอะไรบ้าง
และเริ่มการเรียนการสอน สิ่งที่เรียนในวันนี้
-ความรู้ของเด็กจะเพิ่มพูนขึ้น เมื่อเด็กได้รับโอกาสในการทำกิจกรรมที่เกี่ยวกับการอ่านร่วมกับผู้ใหญ่ การอ่านตามลำพัง การอ่านเป็นคู่ การอ่านเป็นกลุ่มย่อย โดยเฉพาะการอ่านจากครู-เด็กเขียนร่วมกัน
ลักษณะสำคัญของภาษาแบบองค์รวม
1. อ่าน-เขียน
- เน้นความเข้าใจเนื้อหามากกว่าการท่องจำหนังสือผ่านการเล่านิทาน/สนทนา
-การคาดคะเนโดยการเดาในขณะอ่าน เขียน และการสะกด โดยไม่จำเป็นต้องอ่าน หรือสะกดถูกต้อง ทั้งหมด
- มีหนังสือ วัสดุพิมพ์ต่างๆให้เด็กเป็นผู้เลือก
- ครูแนะนำและสอนการอ่านในกล่มที่ไม่ใหญ่มากโดยใช้หนังสือเล่มใหญ่
- ให้เด็กแบ่งกลุ่มเล็กและผลัดกันอ่านออกเสียง
- ครูสอนการอ่านอย่างมีความหมาย วิธีการใช้หนังสือหรือการเปิดหนังสืออย่างถูกต้อง
- เปิดโอกาสให้เด็กได้คุย ซักถามประสบการณ์เดิมจากครู ครูประเมินความสามารถในการอ่าน
- ให้เด็กแต่ละคนมีโอกาสเลือกหนังสือไปอ่าน
- ให้เด็กได้อ่าน ขีดเขี่ย วาดภาพ ถ่ายทอดสิ่งที่เรียนจากประสบการณ์เดิม
2.พูด-เขียน
- เด็กจะมีความรู้เกี่ยวกับคำจะเพิ่มพูนในด้านการพูด
- การพูดคุยกับพ่อแม่ เพื่อน ครู ในสถานการณ์ต่างๆต้องมีความสำคัญกับเด็ก
- ส่งเสริมพัฒนาการ คือ การที่ผู้ใหญ่อ่านหนังสือให้ด็กฟัง
- เด็กจะมองตามตัวหนังสือ จะหาความหมายจากภาพ
3.ขั้นของพัฒนาการในการอ่าน
- ขั้นแรก :คำแรกที่เด็กอ่านเป็นคำที่มีความหมายต่อชีวิตเด็ก เช่น คน สัตว์ สิ่งของ กู๊ดแมนเรียกว่า "รากเหง้าของการอ่าน เขียน"
- ขั้นสอง : ผู้เรียนจะผูกพันกับตัวอักษรเพิ่มขึ้นเรียกชื่อได้หรืออ่านได้ถูก และเรียนรู้ที่อยู่(ตำแหน่ง)ของตัวอักษร
- ขั้นสาม : เด็กแยกแยะการใช้ตัวอักษรและจัดระเบียบแบบแผนของตัวอักษร จะเริ่มอ่านหรือเขียนจากซ้ายไปขวา เด็กเริ่มรู้จักรูปร่างและระบบของตัวอักษรมากขึ้น
- ขั้นสุดท้าย : ระบบของตัวอักษร คือ เป้าหมายปลายทางสุดท้ายของการอ่าน
4.การรับรู้และพัฒนาการด้านภาษาเขียนของเด็กก่อนวัยเรียน
- ระยะแรก : เด็กเริ่มแยกแยะความแตกต่างระหว่างสัญลักษณ์ ที่ใช้แทนอักษรและที่ไม่ใช่อักษร เด็กจะใช้สัญลักษณ์ที่เขาคิดขึ้นแทนอักษร โดยแต่ละอักษรมีลักษณะที่แตกต่างกัน
- ระยะที่สอง : การเขียนตัวอักษรที่ต่างกันสำหรับคำพูดแต่ละคำพูด เด็กจะเริ่มแสดงความแตกต่างของข้อความแต่ละข้อความ โดยการเขียนอักษรที่ต่างกัน เด็กเริ่มตระหนักเกี่ยวกับกฎเกณฑ์ที่ใช้ในการเขียนคำและความหมาย
- ระยะที่สาม : เด็กเริ่มใช้ลักษณะการออกเสียง
5.การจัดสภาพแวดล้อม
- จัดให้สอดคล้องกับเนื้อหาสาระแลพกิจกรรมโดยการจัดพื้นที่ภายในห้องเรียนที่สามารถ ตอบสนองความต้องการในการเรียนรู้ของเด็ก
- สร้างประสบการณ์และความพร้อมในการเรียนของแต่ละบุคคล หรือ แต่ละกลุ่มความสนใจ
- การจัดห้องเรียนควรเป็นสถานที่ที่เด็กได้อยู่ในโลกของภาษาตัวหนังสือ สัญลักษณ์ที่มีความหมายต่อเรื่องที่เรียน
6.กระบวนการเรียนรู้แบบธรรมชาติตามวัยวุฒิของเด็ก
ครูต้องมีความเชื่อมั่นและไว้วางใจในตัวเด็กว่าสามารถทำงานต่างๆได้ พฤติกรรมการเรียนรู้ของเด็กจะเกิดขึ้นเอง ถ้าเด็กมีความสนใจ ซึ่งครูทุกคนต้องสังเกตตลอดเวลาให้เกิดเป็นประสบการณ์ตรงของครู

วันอาทิตย์ที่ 20 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2554

บันทึกการเข้าเรียนครั้งที่ 14

วันอังคารที่ 25 มกราคม พ.ศ. 2554
ในวันนี้อาจารย์ทบทวนเกี่ยวกับภาษาธรรมชาติ และสอนเกี่ยวกับเรื่องกระบวนการเรียนรู้ ได้แก่
1.บรรยากาศการเรียนรู้ ความร่วมมือกันระหว่างครูและนักเรียน คือ คิดด้วยกันว่าจะอะไร ทำเมื่อไร ทำอย่างไร ต้องใช้อุปกรณ์อะไรบ้าง ใครจะทำหน้าที่ส่วนใด
2.การฟังและการพูดของเด็ก การพูดเป็นประโยคยาวๆ จะทำให้เด็กมีพัฒนาการด้านภาษาอย่างรวดเร็ว
3.การอ่านและการเขียน การให้เด็กเรียนรู้ที่จะเข้าใจประเด็นในเรื่องที่อ่าน สิ่งที่ประกอบขึ้นทั้งหมด คือ องค์ความรู้ ที่เป็นเนื้อหานำเสนอผ่านไวยกรณ์ของภาษา
**ในสัปดาห์นี้อาจารย์ไม่ได้มอบหมายงาน**

บันทึกการเข้าเรียนครั้งที่ 13

วันอังคารที่ 18 มกราคม พ.ศ.2554
ในวันนี้อาจารย์แบบการทดสอบ โดยมีกิจกรรม ดังนี้
1.คำคล้องจอง
2.หนูรู้สึกอย่างไร
3.ครอบครัวของฉัน
4.ฟังและปฎิบัติโดยมีข้อตกลง
5.คำตรงข้าม
6.กระซิบ
7.วาดภาพมาเชื่อมโยงเป็นเรื่องราว
8.เล่าไปวาดไป
อาจารย์สรุปการจัดประสบการณ์ด้านการฝึกพูด
-การเลียนเสียงที่อยู่ในสิ่งแวดล้อม เช่น เสียงสัตว์
-หัดว่าบทประพันธ์ จะช่วยฝึกการออกเสียง ทำให้รู้คำศัพย์มากขึ้น

เพลงที่ใช้เป็นสื่อ ได้แก่

1.เพลง...สวัสดี

2.เพลง...ชื่อของเธอ

ชื่อของเธอฉันไม่รู้จัก ครูถามทักนักเรียนเข้าใหม่

ชื่อของเธอฉันจำไม่ได้ ชื่ออะไรขอให้บอกมา

3.เพลง...แปลงฟัน

แปลง ซิ แปลง แปลง ฟัน

ฟัน หนู สวย สะอาด ดี

แปลง ขึ้น แปลง ลง ทุก ซี่

สะอาด ดี เมื่อ หนู แปลง ฟัน

**สัปดาห์นี้อาจารย์ไม่ได้มอบหมายงาน**

บันทึกการเข้าเรียนครั้งที่ 12

วันเสาร์ที่ 15 มกราคม พ.ศ. 2554
ในวันนี้อาจารย์นัดเรียนเพิ่มเติม เนื่องจากเรียนเรียนไม่ทัน สิ่งที่เรียนในวันนี้
พัฒนาการทางภาษาของเด็ก 7 ขั้น มีดังนี้
1.ระยะเปะแปะ
- อายุตั้งแต่แรกเกิด - 6 เดือน
- พบว่าเด็กเปล่งเสียงอย่างไม่มีความหมาย
- เมื่อมีอายุ 6 เดือน เสียงของเด็กเริ่มชัดเจน เรียกเสียงที่เปล่งออกมาว่า "เสียงอ้อแอ้"
2.ระยะแยกแยะ
- อายุ 6 เดือน - 1 ปี
- พบว่า เด็กเริ่มจะแยกแยะเสียง ที่เขาได้ยินในสิ่งแวดล้อม เช่น เสียงพูดคุยของแม่หรือผู้เลี้ยงดู
3.ระยะเลียนแบบ
- อายุ 1-2 ปี
- เสียงของคนใกล้ชิด เป็นเสียงที่เด็กวัยนี้สนใจ และเริ่มเลียนแบบเสียงที่เปล่งขึ้น
- เริ่มมีความหมายและแสดงกิริยาตอบสนองการได้ยินของผู้อื่น
4.ระยะขยาย
- อายุ 2-4 ปี
- เด็กจะเริ่มพูดโดยเปล่งเสียงออกเป็นคำๆ
การพูดของเด็กอายุ 2-4 ปี มีดังนี้
- อายุ 2 ปี เริ่มพูดเป็นคำและสามารถใช้คำที่เป็นคำนามได้ร้อยละ 20
- อายุ 3 ปี เด็กเริ่มพูดเป็นประโยคได้
- อายุ 4 ปี เริ่มใช้คำศัพท์ต่างๆได้กว้างมากขึ้น สามารถใช้คำขึ้นต้นหรือคำลงท้ายอย่างที่ได้ยินผู้ใหญ่ใช้
5. ระยะโครงสร้าง
- อายุ 4-5 ปี
- การรับรู้และการสังเกตของวัยนี้ดีมากขึ้น
- เด็กได้สังเกตการใช้ภาษาของบุคคลที่อยู่รอบข้าง เช่น การฟังนิทาน การเล่นกับเพื่อน
6.ระยะตอบสนอง
- อายุ 5-6 ปี
- พัฒนาการทางภาษาของเด็กวัยนี้เริ่มสูงขึ้น
7.ระยะสร้างสรรค์
- อายุตั้งแต่ 6 ปีขึ้นไป
- สามารถจดจำสัญญาลักษณ์ทางภาษาได้มากขึ้น สำหรับด้านการพูด
- เด็กจะพัฒนาการวิเคราะห์และสร้างสรรค์ทักษะทางภาษาได้สูงขึ้น
- ใช้ภาษาพูดเป็นนามธรรมมากขึ้น
- การสื่อสารจะเป็นการแสดงออกซึ่งความรู้สึกนึกคิดของเด็ก
การจัดประสบการณ์ภาษาธรรมชาติ
โคมินิอุส กล่าวว่า
- เด็กสามารถค้นพบข้อมูลใหม่ๆได้ด้วยการนำเสนอ ด้วยสิ่งที่เด็กคุ้นเคยในชีวิต เด็กจะเข้าใจสิ่งของที่เป็นรูปธรรม
จูดิท นิวแมน กล่าวว่า
- การสอนภาษาโดยใช้แนวคิดปรัชญา
จอห์น ดิวอี้ กล่าวว่า
- การเรียนรู้ภาษาจากประสบการณ์ตรง
** ในวันนี้อาจารย์ไม่ได้มอบหมายงาน**

บันทึกการเข้าเรียนครั้งที่ 11

วันอังคารที่ 11 มกราคม พ.ศ. 2554
ในวันนี้เรียนเกี่ยวกับ ภาษามีอิทธิพลต่อการรับรู้และการคิดของมนุษย์อย่างไร
การกำหนดความคิดหรือการกระทำของมนุษย์ เป็นกระบวนการพัฒนาทางสติปัญญา เป็นเครื่องมือันสำคัญของความคิด ซึ่งการเรียนภาษา เป็นการมโนทัศน์
-ภาษาจะต้องมีการแสดงออกทางด้านการสื่อสาร เช่น การย้ำ การปฎิเสธ การขอร้อง การออกคำสั่ง
-ภาษาจะมีความแตกต่างกันในหลายๆลักษณะ
**ในวันนี้ส่งงาน "เธอ ชอบ กิน อะไร"**
**ส่งงานสมุดเล่มเล็ก**

บันทึกการเข้าเรียนครั้งที่ 10

วันอังคารที่ 4 มกราคม พ.ศ.2554
ในสัปดาห์นี้อาจารย์เริ่มการเรียนการสอนด้วยการสั่งการบ้าน หัวข้อเรื่อง "เธอ ชอบ กิน อะไร"
และให้นำมาส่งในวันอังคารที่ 11 ม.ค. 2554
สิ่งที่เรียนรู้ในสัปดาห์นี้ ได้แก่
ความหมายของภาษา
-ภาษาเป็นสัญลักษณ์หรือรหัส(Code) ที่ใช้แทนคน สัตว์ สิ่งของ สถานที่ กิริยาอาการต่างๆ และเหตุการณ์ เช่น "เด็ก กิน ขนม"
-ภาษาเป็นสัญลักษณ์ของมโนมติเกี่ยวกับโลกหรือประมวลประสบการณ์ เช่น ความโศกเศร้า
-ภาษาเป็นระบบโดยมีกฎเกณฑ์ที่ค่อนข้างคงที่ เช่น มีประธาน กิริยา กรรม
องค์ประกอบของภาษา
1.เสียง มี 2 ประเภท ดังนี้
1.1 การอ่าน แบ่งออกเป็น 2 ประเภท คือ
- สัญลักษณ์การอ่าน
- ตัวอักษร
1.2 ระบบเสียง
2. ไวยากรณ์ มี 2 แบบ ดังนี้
2.1 คำ
2.2 ประโยค
3. ความหมาย มี 2 แบบ ดังนี้
3.1 คำศัพย์
3.2 ประโยคหรือข้อความ
เนื้อหาของภาษา
1.ชื่อ มี 2แบบ คือ
1.1 ชื่อเฉพาะ เช่น ถนนรถไฟ
1.2 ชื่อทั่วไป เช่น สุนัข
2.ความสัมพันธ์ มี 3 แบบ คือ
2.1 บอกความเป็นอยู่
2.2 บอกลักษณะ เช่น บอลลูกใหญ่
2.3 บอกการกระทำ เช่น กินขนม
3. เหตุการณ์ มี 2 แบบ คือ
3.1 เวลา และ เหตุผล เช่น หิวจึงกิน
3.2 ความรู้ ความรู้สึก และเวลา
รูปแบบของภาษา
1.เสียง มี 2 ประเภท คือ
1.1 หน่วยเสียง เรียงเสียง พยัญชนะ สระ เช่น /ก/ /ป/
1.2 หน่วยเสียง ซ้อนเสียง วรรณยุกต์ เช่น กิน ดี เร็วๆ
2.คำ มี 2 ประเภท คือ
2.1 คำหรือเนื้อหา เช่น สันธาน บุพบท
2.2 คำแสดงหน้าที่ประกอบ ได้แก่ ที่ ซึ่ง อัน บน ใน
3.ประโยค เช่น แม่ทำขนม
การใช้ภาษา
1.จุดมุ่งหมาย
2.บริบทหรือสถานการณ์
**งานที่อาจารย์มอบหมายให้ไปทำ "เธอ ชอบ กิน อะไร" **

บันทึกการเข้าเรียนครั้งที่ 9

วันอังคารที่ 28 ธันวาคม พ.ศ.2553
ในสัปดาห์นี้อาจารย์เริ่มการเรียนการสอนด้วยการให้ใส่หมายเลข 1-44 ลงในภาพที่มีอักษร ก-ฮ ที่ผสมอยู่ในรูปสัตว์ ต่อจากนั้นอาจารย์ก็สอนวิธีการทำสมุดเล่มเล็ก และอาจารย์ก็เล่านิทานพร้อมฉีกกระดาษไปเรื่อยๆจนนิทานจบอาจารย์ก็คลี่กระดาษออก กลายเป็น เสื้อ ซึ่งนี้เป็นเทคนิควิธีในการเล่าแบบเล่าไปฉีกไป
และสิ่งที่เรียนในวันนี้อาจารย์พูดถึงการเรียนรู้ของเด็กว่า เด็กจะเกิดการเรียนรู้จากปฎิสัมพันธ์จากคนรอบข้าง พ่อ แม่ ผู้ปกครอง และจะเริ่มเข้าใจการใช้หลักไวยกรณ์เมื่อมีอายุ 4-5 ปี
**อาจารย์ได้มอบหมายงานให้ไปทำสมุดเล่มเล็ก เกี่ยวกับเรื่องอะไรก็ได้มา 1 เรื่อง**

บันทึกการเข้าเรียนครั้งที่ 8

วันอังคารที่ 21 ธันวาคม พ.ศ.2553
ในสัปดาห์นี้ไม่มีการเรียนการสอน เนื่องจากเป็นสัปดาห์ของการสอบกลางภาค

บันทึกการเข้าเรียนครั้งที่ 7

วันอังคารที่ 14 ธันวาคม พ.ศ.2553
ในวันนี้อาจารย์ติดธุระทางราชการ จึงให้อาจารย์เหมียวมาสอนแทน และสั่งงาน Big Book

บันทึกการเข้าเรียนครั้งที่ 6

วันอังคารที่ 7 ธันวาคม พ.ศ.2553
ในวันนี้อาจารย์แจกอุปกรณ์ในการทำ Big Book และให้นำมาเสนอในอีก 2 สัปดาห์

บันทึกการเข้าเรียนครั้งที่ 5

วันอังคารที่ 30 พฤศจิกายา พ.ศ.2553
ในวันนี้นำเสนอ Power ponit เกี่ยวเรื่องที่เราใน Big Book ให้อาจารย์ได้ดูเพื่อหาข้อแก้ไขก่อนนำไปใช้จริง